4 ขั้นตอนการเช็คท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง
top of page

4 ขั้นตอนการเช็คท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง

อัปเดตเมื่อ 20 เม.ย. 2566




1. ระยะห่างพอดี

ระยะห่างระหว่างเบาะนั่งและพวงมาลัยที่ดี ต้องไม่ทำให้ขาและแขนเหยียดตรงหรืองอจนเกินไป ระยะห่างของการจับพวงมาลัยที่เหมาะสม คือเมื่อจับพวงมาลัยแล้วแขนหย่อนสบายๆ ศอกไม่เหยียดตึงหรืองอ ไหล่ไม่ยก สามารถควบคุมพวงมาลัยได้สะดวก ระยะการเหยียดขาที่เหมาะสมคือ หัวเข่าและปลายเท้าไม่เหยียดตึง หรืองอ จนเกินไป สามารถออกแรงเหยียบเบรคและคันเร่งได้ถนัดเข่าไม่ชนพวงมาลัย





2. เอนเบาะพอดี

ปรับองศาพนักพิงที่ประมาณ 100-110 องศา ที่สำคัญ! แผ่นหลังต้องสัมผัสแนบกับเบาะพิงให้มากที่สุด ไหล่ไม่ยกเกร็ง ศีรษะไม่เงย ก้ม หรือคางยื่นจนเกินไป มองเห็นทางข้างหน้าได้ชัดเจน





3. ความสูงของเบาะและพนักพิงศีรษะพอดี

เมื่อได้ระยะห่างและองศาพนักพิงที่พอดีแล้ว ความสูงของเบาะและความสูงของพวงมาลัยก็ต้องเหมาะสมด้วย พวงมาลัยไม่ชนเข่า หรือสูงบัง ทัศนวิสัยในการขับขี่ ระยะหัวเข่าควรจะอยู่เหนือแนวสะโพกเล็กน้อย เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือดบริเวณสะโพกและต้นขา เมื่อเราขยับ ขาจะไม่รู้สึกตึงเกินไป ซึ่งในขณะขับรถส้นเท้ายังสามารถแตะพื้น และเมื่อหยุดพักจะสามารถวางพักเต็มฝ่าเท้าได้อย่างสบาย โดยระยะที่ เหมาะสมจะทำให้ร่างกายไม่เกร็ง รู้สึกผ่อนคลายขณะขับขี่ สามารถมองทางได้อย่างชัดเจน



พนักพิงศีรษะของรถแต่ละรุ่น ถูกออกแบบมาด้วยดีไซน์ที่ไม่เหมือนกัน จึงควรหาระยะที่เหมาะสมทั้งความสูง และความเอียง เมื่อเราพิงศีรษะแล้ว คางจะเชิดขึ้น หรือกดตํ่าลงเล็กน้อย แต่จะเป็นระยะ ตรงที่สามารถมองเห็นทางข้างหน้า แล้วให้พนักพิงศีรษะ ช่วยรองรับเเบ่งเบาภาระของกระดูกต้นคอและไหล่ จะสามารถช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเหยียบเบรคกระทันหัน หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขณะขับรถได้




4. จับพวงมาลัยให้ถูกต้อง

กำพวงมาลัยให้กระชับ ถนัดมือ วางมือในตำแหน่ง 9 นาฬิกาในมือซ้าย และ บ่าย 3 นาฬิกาในมือขวา ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการขับรถ จับได้ถนัดมือ และสามารถบังคับทิศทางได้ง่าย โดยไม่ทำให้เกิดอาการปวดไหล่ หรือต้นคอ แขนจะต้องงอเล็กน้อย สอดคล้องกับระยะห่างที่เหมาะสม จะช่วยลด อาการปวดล้า บริเวณช่วงแขน


bottom of page