การขยับเปลี่ยนท่าขณะนั่งส่งผลดีต่อร่างกาย ?
top of page

การขยับเปลี่ยนท่าขณะนั่งส่งผลดีต่อร่างกาย ?



การขยับตัวนี้เองเป็นเคล็ดลับสำคัญของการดูแลสุขภาพหลัง การขยับถือเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายเพื่อลดการรับรู้ความรู้สึกไม่สบายตัว ความเมื่อยล้า ความตึง หรือแม้กระทั่งอาการเหน็บชาต่าง ๆ ในทางตรงกันข้ามการนั่งนิ่ง ๆ ติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน ถึงแม้จะอยู่ในท่านั่งที่ดีแล้วก็ตาม ก็จะส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าปวดเมื่อย กล้ามเนื้อตึงตัว กล้ามเนื้อหดรั้ง การไหลเวียนของเลือดถูกจำกัด มีงานวิจัยหนึ่งพบว่า ในพนักงานสำนักงานที่ไม่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมีพฤติกรรมการนั่งที่ดีกว่าผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ และพฤติกรรมที่ว่าก็คือ การขยับตัวเปลี่ยนท่านั่งขณะทำงานนั่นเอง ในงานวิจัยดังกล่าวพบว่า ผู้ที่มีสุขภาพดีมีการขยับตัวเปลี่ยนท่ามากกว่ากว่าผู้ที่มีอาการปวดหลังถึง 43% !!! มาดูกันว่าประโยชน์ของการขยับมีอะไรบ้างและทำงานผ่านกลไกอะไร




1. ช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัว ปวด ตึง เมื่อย ชา ล้าฯ (Reduce postural discomfort) เนื่องจากทุกครั้งที่เราขยับเปลี่ยนท่า จากท่านั่งหนึ่งไปสู่ท่าต่อไป ร่างกายจะมีการสลับกลุ่มการทำงานของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ทำให้กล้ามเนื้อชุดเดิมได้พักการทำงาน มีออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นพลังงานของกล้ามเนื้อเข้าไปเติมเต็ม พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อชุดใหม่ก็ได้ออกแรงหดตัวไม่อยู่นิ่งจนเกินไป เป็นการลดโอกาสการเกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อไปโดยปริยาย




2. ช่วยลดแรงกดทับไปยังกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลัง เมื่อเราอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเกิดแรงกดทับลงไปที่จุดเดิม ตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนคอ หลังส่วนกลาง หลังส่วนล่าง และกระดูกเชิงกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอนรองกระดูกบริเวณหลังส่วนล่าง จะมีแรงกดทับสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับแรงกดทับขณะอยู่ในท่ายืน แรงกดอย่างต่อเนื่องนี้ไม่เพียงทำให้โครงสร้างดังกล่าวอ่อนแอลง ยังส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดถูกจำกัดด้วยแรงกดทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารเข้าสู่เนื้อเยื่อทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากมีพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเวลานานอาจเกิดการสูญเสียความสูงของหมอนรองกระดูกในระยะยาวได้ นำไปสู่ปัญหาทางร่างกายอื่น ๆ ตามมาในระยะยาว




3. ช่วยเพิ่ม Tissue viability (การมีชีวิตของเนื้อเยื่อ) ในงานวิจัยของ Reenalda และคณะในปี 2009 ได้ติดเครื่องมือวัดสิ่งที่เรียกว่า Tissue viability หรือความมีชีวิตของเนื้อเยื่อในผู้เข้าร่วมงานวิจัยและขอให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยนั่งติดต่อกันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง งานวิจัยดังกล่าวพบว่า ในทุกครั้งที่ขยับตัวเปลี่ยนท่านั่งค่า Oxygen saturation บริเวณ Subcutaneous tissue (หรือบริเวณผิวหนังใต้ก้น) มีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2.2% ซึ่งค่าดังกล่าวเป็นค่าที่ใช้ในการบ่งชี้ Tissue viability (การมีชีวิตของเนื้อเยื่อ) นั่นเอง โดยค่าดังกล่าวถือเป็นตัวบ่งชี้ที่สามารถวัดค่าได้ง่าย ๆ และใช้เป็นตัวแทนในการแสดงถึงสภาวะที่มีความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อ หมายความว่า หากเราไม่ขยับตัว ทิ้งให้เนื้อเยื่อมีแรงกดทับเป็นเวลานานอาจทำให้เนื้อเยื่อตายได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของผู้ป่วยอัมพฤต์-อัมพาตที่ไม่สามารถขยับตัวได้ด้วยตนเอง จนทำให้เกิดปัญหาแผลกดทับตามมา


โดยส่วนมาก คนเรามักจะขยับตัวหรือเปลี่ยนท่านั่งเมื่อ “รู้สึก” หรือสัมผัสได้ถึงความไม่สบายตัว อย่างไรก็ตาม หากรอจนกระทั่งรู้สึกเมื่อยล้าแล้วค่อยขยับ อาจเป็นไปได้ว่ากระบวนการระคายเคืองหรือความเสียหายต่อเนื้อเยื่ออาจเริ่มขึ้นแล้ว และอาจสายเกินไปที่จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนท่าทาง ดังนั้น เราควรขยับตัวเปลี่ยนท่านั่ง (หรือบิดขี้เกียจ!) ก่อนที่จะเกิดความรู้สึกไม่สบายตัว และอย่าลืมว่าท่านั่งที่ 'ถูกต้อง' ควรเอื้อให้เกิดพฤติกรรมแบบ Dynamic โดยมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง แทนที่จะเป็นท่าที่ 'เหมาะสม' ท่าเดียว

.

.

.

AirLumba ขอแนะนำ AirLumba Enlight ตัวช่วยเปลี่ยนให้การนั่งธรรมดา ๆ ให้เป็นการนั่งที่ส่งเสริมการขยับ แต่ยังนั่งอยู่ในท่าที่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ได้ง่ายขึ้น หลังจะตรงอยู่ในรูปแบบ S-Shape Curve


AirLumba Enlight

- ช่วยปรับการนั่งให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ (S-Shape Curve)

- ช่วยให้การนั่งเกิดการกระจายน้ำหนัก ลดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูกบริเวณก้นกบ และหลังส่วนล่าง

- ช่วยให้เกิดการขยับ เคลื่อนไหวร่างกาย จนทำให้กล้ามเนื้อรอบแกนกระดูกสันหลังกลับมาแข็งแรงเร็วขึ้น


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.airlumba.com/airlumbaenlight

สามารถสั่งซื้อ AirLumba Enlight ได้ที่ช่องทาง AirLumba Official

bottom of page